ศัลยกรรมอื่นๆ
ศัลยกรรมอื่นๆ Other
De'SIS Clinic นอกจากจะมีบริการศัลยกรรมความงามแล้ว ยังมีบริการศัลยกรรมอื่นๆอีกด้วย
ซึ่งมี 3 โปรแกรม ดังนี้
ผ่าตัดไฝ /หูด
การกำจัดไฝ ไม่ใช่เรื่องยาก วิธีการมีด้วยกันหลายวิธี แต่ปัจจุบันวิธีที่ได้รับความนิยมและจัดว่าปลอดภัย ก็คือ การใช้เลเซอร์รักษา หรือ การรักษาโดยการผ่าตัด
1. การใช้เลเซอร์ นิยมทำในกรณีที่ไฝมีขนาดไม่ใหญ่มาก ซึ่งเลเซอร์ที่ใช้ในการกำจัดไฝ คือ CO2 โดยก่อนเลเซอร์แพทย์จะทายาชาบริเวณที่จะรักษา ต้องรอเวลายาชาออกฤทธิ์นานประมาณ 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมง หรืออาจฉีดยาชาเฉพาะที่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ การใช้เลเซอร์สามารถทำได้ทีละหลายๆ เม็ด โดยไม่จำกัดจำนวน หลังทำเลเซอร์เสร็จแล้ว แพทย์จะทายาป้องกันการติดเชื้อ และติดพลาสเตอร์เล็กๆไว้ เพื่อป้องกันการสัมผัสน้ำ 1 วันหลังทำ เมื่อแกะพลาสเตอร์ออกและสามารถสัมผัสน้ำได้ และทายาป้องกันการติดเชื้อ ประมาณ 7 วัน ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแดดโดยตรง
เนื่องจากอาจทำให้แผลดำคล้ำขึ้น แต่ถ้าจะใช้ครีมกันแดดทา ควรกระทำหลังจากแผลหายเป็นปกติแล้ว และหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางบริเวณแผลเลเซอร์ หรือแผลผ่าตัด จนกว่าแผลจะหายเป็นปกติ
2.การผ่าตัด วิธีนี้แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่รอบบริเวณไฝแล้วจึงตัดออก จากนั้นก็จะเย็บปิดแผล โดยใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที แผลเป็นที่เกิดจากรอยเย็บเป็นเพียงรอยผ่าเส้นเล็กๆ และจะค่อยๆ จางหายไปตามกาลเวลา
การผ่าตัดจะใช้ได้ดีสำหรับไฝที่มีขนาดใหญ่ เพราะสามารถตัดได้ลึกเพื่อเอาไฝออกได้ทั้งหมด และหลังผ่าตัดห้ามแผลสัมผัสกับน้ำจนกว่าจะตัดไหม ซึ่งแพทย์จะนัดตัดไหมประมาณ 5-10 วัน หลังการผ่าตัด
ผ่าตัดซีสต์ต่อมไขมัน
Sebaceous Cyst หรือ ซีสต์ต่อมไขมันใต้ผิวหนัง เป็นซีสต์หรือถุงน้ำขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นใต้ผิว หนังอย่างช้า ๆ โดยสามารถเกิดได้ทั่วร่างกาย มักไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงหรือกลายไปเป็นมะเร็ง ยกเว้นเกิดการติดเชื้อหรือการอักเสบมีขนาดใหญ่ หรือซีสต์ชนิดนี้ขึ้นในบริเวณที่อาจเกิดการเสียดสีบ่อย ๆ เช่น ตามลำคอ หรือบนใบหน้า ผู้ป่วยจะมีก้อนหรือตุ่มนูนขนาดเล็กบริเวณผิวหนัง ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ไม่กี่มิลลิเมตรไปจนถึงหลายเซนติเมตร โดยมีรูปทรงคล้ายโดม ผิวเรียบ ภายในมีสารสีขาวคล้ายชีสต์หรือไขมัน ก้อนซีสต์มีความนิ่ม สามารถจับเคลื่อนที่ได้เล็กน้อย พบได้บ่อยตามใบหน้า คอ หลังช่วงบน หน้าอก และหนังศีรษะ โดยทั่วไป ก้อนซีสต์ขนาดเล็กมักไม่ค่อยก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่หากมีขนาดใหญ่มากอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัวหรือมีอาการเจ็บปวด โดยเฉพาะซีสต์ที่เกิดบริเวณใบหน้าหรือลำคอ
การผ่าตัด เป็นการกำจัดก้อนซีสต์ออกอย่างถาวร แต่อาจมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นตามมา หรืออาจเกิดซีสต์ขึ้นมาใหม่หากผ่าตัดออกไปไม่หมด โดยเฉพาะซีสต์ที่เป็นก้อนนิ่มและมีขนาดใหญ่ หลังผ่าตัดผู้ป่วยควรดูแลรักษาความสะอาดแผล เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
ผ่าตัดคีลอยด์
แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid) คือแผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะนูนเงาและขยายใหญ่กว่าแผลเป็นที่เกิดขึ้น ในช่วงแรกๆ จะปรากฏเป็นสีแดงแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือซีดลง โดยอาจเกิดขึ้นทันทีที่แผลหายหรือหลังจากที่แผลหายดีได้สักพัก บางครั้งอาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีกว่าจะก่อตัวขึ้นมา อาจทำให้รู้สึกเจ็บ คัน ระคายเคือง และส่งผลกระทบถึงเรื่องความสวยความงาม สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักขึ้นตาม หน้าอก หัวไหล่ หลัง ลำคอ และติ่งหู ซึ่งแผลเป็นคีลอยด์จะคงอยู่เป็นเวลาหลายปี
การผ่าตัด เป็นวิธีการตัดแผลออกหรือลดขนาดของแผลเป็นให้เล็กลง ซึ่งการตัดแผลจะทำโดยการผ่าตัดบริเวณที่เป็นแผลออกแล้วเย็บปิดเป็นเส้นตรง มักใช้ในกรณีที่เป็นแผลขนาดเล็กและเกิดขึ้นตามร่างกายในส่วนที่พอจะเย็บแผลได้ เช่น ผิวหนังบริเวณหน้าท้องที่มีความยืดหยุ่นสูง บางส่วนของร่างกายก็ไม่สามารถใช้วิธีการผ่าตัดได้ ต้องเลือกการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การฉีดยาเสตียรอยด์ (Intra lesional corticosteroid) การฉายรังสี (Radio therapy หรือใช้การฉายรังสีผ่านเครื่อง SRT (Stereotactic Radiotherapy) และ เลเซอร์รอยแผลเป็น (Laser therapy) เช่นการทำไอพีแอล (Intense pulse light – IPL) เป็นต้น